การประเมินผลโครงงาน

การประเมินผลโครงงานเป็นการวัดคุณภาพของผลงานว่ามีคุณภาพเพียงใด โดยอาศัยเกณฑ์ดังตารางด้านล่าง ทั้งนี้ นักเรียนควรทราบเกณฑ์สำหรับการประเมินผล เพื่อสร้างผลงานที่มีคุณภาพ

Untitled

การเรียนรู้การจัดทำโครงงานนั้น จะทำให้ผู้เรียนได้นำความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ หลักการและกระบวนการที่ใช้ในการแก้ปัญหา หลักการ

 

คุณลักษณะของโครงงานที่ดี

โครงงานที่ดีจะต้องมีคุณลักษณะ ดังนี้

1. สามารถตอบสนองความต้องการหรือแก้ปัญหาของโครงงานได้อย่างครบถ้วน

2. เป็นไปตามขอบเขตที่กำหนดไว้

3. สามารถดำเนินการเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้และเสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนด

4. ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ

ในการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ที่ดีจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับ และต้องมีคุณลักษณะที่ดีตามที่กล่าวข้างต้น แต่ทั้งนี้ก็ต้องคำนึงถึงผลกระทบในทางลบที่อาจเกิดขึ้นจากการทำโครงงานซึ่งผู้จัดทำอาจต้องหลีกเลี่ยง โดยจะต้องคำนึงถึงผลกระทบทางลบในด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านสิ่งแวดล้อม ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ด้าน

ตัวอย่างผลกระทบทางลบ

ด้านเศรษฐกิจ

เช่น  ระบบคำนวณเลขหวย สำหรับหาเลขที่คาดว่าสลากกินแบ่งรัฐบาลจะออกในแต่ละงวด ส่งผลให้คนในสังคมใช้เงินในการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลมากขึ้น ทำให้มีเงินสำหรับจับจ่ายใช้สอยน้อยลง จนบางครั้งก็อาจก่อให้เกิดปัญหาติดหนี้สินมากมาย

ด้านสังคมและวัฒนธรรม

เช่น โครงงานเกมต่อสู้ ทำให้นักเรียนที่ติดเกมนั้นใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเล่นเกม ซึ่งจากการวิจัยของต่างประเทศพบว่า หากเล่นเกมติดต่อกันนาน 15 สัปดาห์ อาจทำให้ผู้เล่นคลุ้มคลั่งสั่งได้ นอกจากนี้ อาจส่งผลกระทบต่อผู้เล่นอาจเกิดอาการประสาทหลอน ไม่สามารถแยกแยะโลกความเป็นจริงกับโลกในเกมออกจากกันได้ ทำให้เด็กเหล่านี้มีอารมณ์รุนแรง เกรี้ยวกราดและตัดสินใจแก้ปัญหาด้วยการใช้กำลัง

ด้านสิ่งแวดล้อม

เช่น โครงงานสำรวจมลพิษทางอากาศ เป็นการประเมินมลพิษทางอากาศบริเวณรอบโรงเรียนที่นักเรียนศึกษาอยู่ ว่ามีแก๊สประเภทใดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งนี้ในปัจจุบันมนุษย์ได้ตัดไม้ทำลายป่า เผาป่า และใช้ยวดยานพาหนะ ตลอดจนมีการทำโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น

 

ขั้นตอนการพัฒนาโครงงาน

การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ ถือเป็นกระบวนการในการทำโครงงานที่ต้องดำเนินการอย่างเป็นลำดับขั้นตอน เพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุดต่อการพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

3.1 การคัดเลือกหัวข้อโครงงาน

หัวข้อ ส่วนใหญ่ที่นำมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์ มักจะได้มาจากปัญหา คำถาม หรือความสนใจในเรื่องต่างๆ การสังเหตสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ หรือสิ่งต่างๆ รอบตัว

ปัญหาที่จะนำ มาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์นั้นได้จากแหล่งที่ต่างกัน ได้แก่ การอ่านค้นคว้าจากหนังสือ เอกสาร หนังสือพิมพ์ หรือวารสารต่างๆ การไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ การฟังบรรยายทางวิชาการ รายการวิทยุและโทรทัศน์ ข้อมูลข่าวสารจากอินเทอร์เน็ต รวมทั้งการสนทนาอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างเพื่อนนักเรียนหรือกับ บุคคลอื่นๆ กิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียน งานอดิเรกของนักเรียน การเข้าชมงานนิทรรศการหรืองานประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์

82576_1องค์ประกอบสำคัญในการตัดสินใจเลือกหัวข้อที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์

  1. มีความรู้และทักษะพื้นฐานอย่างเพียงพอในหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา
  2. สามารถจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ และวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องได้
  3. มีแหล่งความรู้เพียงพอที่จะค้นคว้า หรือขอคำปรึกษา
  4. มีเวลาเพียงพอ
  5. มีงบประมาณเพียงพอ
  6. มีความปลอดภัย

3.2 การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล

การศึกษาค้นคว้าเอกสารและแหล่งข้อมูล รวมถึงการขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิจะช่วยให้เกิดแนวคิดในการกำหนดขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้นและได้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่จะศึกษา จนสามารถใช้ออกแบบและวางแผนดำเนินการทำโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสม

ในการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูลจะต้องได้คำตอบว่า  จะทำอะไร ทำไมต้องทำ ต้องการให้เกิดอะไร ทำอย่างไร ใช้ทรัพยากรอะไร ทำกับใคร และจะเสนอผลงานอย่างไร

3.3  การจัดทำข้อเสนอโครงงาน

การจัดทำข้อเสนอโครงงานเป็นการจัดทำเค้าโครงของโครงงานเพื่อเสนอครูที่ปรึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1. ศึกษาค้นค้วาเอกสารอ้างอิง และรวบรวมข้อมูลที่ได้จากผู้ทรงคุณวุฒิ

2. วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อกำหนดขอบเขตและลักษณะของโครงงานที่จะพัฒนา

3. ออกแบบการพัฒนา มีการกำหนดลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์และตัวแปลภาษาโปรแกรม และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องใช้

4. กำหนดตารางการปฏิบัติงานของการจัดทำเค้าโครงของโครงงาน ลงมือทำโครงงาน และสรุปรายงานโครงงาน โดยกำหนดช่วงเวลาอย่างกว้าง

5. ทำการพัฒนาโครงงานขั้นต้น เพื่อศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น โดยอาจจะทำการพัฒนาส่วนย่อยๆ บางส่วน ตามที่ได้ออกแบบไว้แล้ว นำผลจากการศึกษาในช่วงนี้ไปปรับปรุงแผนการทดลองที่ออกแบบไว้ในครั้งแรกให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น

6. เสนอเค้าโครงของโครงงานคอมพิวเตอร์ต่อครูที่ปรึกษา เพื่อขอคำแนะนำและปรับปรุงแก้ไขเพราะในการวางแผนการศึกษาพัฒนา ความคิดของนักเรียนอาจยังไม่ครบคลุมทุกด้าน เนื่องจากยังขาดประสบการณ์ จึงควรถ่ายทอดความคิดที่ได้ศึกษาและบันทึกไว้ให้ครูทราบเพื่อรับคำแนะนำ และนำไปปรับใช้ให้เกิดความเหมาะสม

82576_1องค์ประกอบของโครงงานคอมพิวเตอร์

  1. ชื่อโครงงาน ต้องสื่อว่าทำอะไรกับใคร เพื่ออะไร เช่นโครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา โครงงานพัฒนาเครื่องมือ
  2. ชื่อผู้จัดทำ  ระบุถึงผู้รับผิดชอบโครงงานอาจเป็นรายกลุ่มหรือรายบุคคลก็ได้
  3. ครูที่ปรึกษา ระบุชื่อสกุล ของครูผู้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาควบคุมการทำโครงงานของนักเรียน
  4. ระยะเวลาดำเนินงาน ให้ระบุเวลาตั้งแต่เริ่มทำโดยใช้ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการบริหารจัดการเพื่อใช้วางแผนควบคุมการทำงาน
  5. แนวคิด ที่มา อธิบายถึงสาเหตุที่เลือกทำโครงงาน กล่าวถึงความต้องการและความคาดหวังที่จะเกิดผล
  6. วัตถุประสงค์ ระบุสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดโครงงานนี้ในเชิงกระบวนการและผลลัพธ์ที่ได้
  7. หลักการทฤษฏี อธิบายหลักการและทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง ที่นำมาใช้ในโครงงาน
  8. วิธีดำเนินงาน กล่าวถึงกิจกรรมหรือขั้นตอนการดำเนินงาน
  9. ขั้นตอนปฏิบัติ กล่าวถึงวันเวลาและการดำเนินกิจการต่างๆ ตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้น
  10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ ระบุถึงสภาพของผลที่ต้องารให้เกิด รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น
  11. เอกสารอ้างอิง ระบุชื่อเอกสารข้อมูลที่ได้จากแหล่งต่างๆ ที่นำมาใช้ในการดำเนินการ

3.4 การพัฒนาโครงงาน

เมื่อเค้าโครงงานของโครงงานได้รับความเห็นชอบจากครูที่ปรึกษาแล้ว ขั้นตอนต่อไปนี้จึงเป็นการลงมือพัฒนาโครงงานตามขั้นตอนที่วางแผนไว้ เช่น จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อม รวมทั้งการกำหนดหน้าที่ ความรับผิดชอบ ของสมาชิกในกลุ่มให้ชัดเจน แล้วจึงดำเนินการทำโครงงาน ขณะเดียวกันต้องมีการทดสอบ ตรวจสอบ ปรับปรุงแก้ไข เพื่อพัฒนาโครงงานเป็นระยะๆ เพื่อให้แน่ใจว่าผลงานที่พัฒนาขึ้นนั้น ทำงานำด้ถูกต้องตรงกับความต้องการที่ระบุไว้ในเป้าหมาย และเกิดประสิทธิภาพตามขั้นตอน ดังนี้

  1. การเตรียมการ ต้องเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุอื่นๆ ที่จะใช้ในการพัฒนาให้พร้อมและควรเตรียมสมุดบันทึกหรือบันทึกเป็นข้อความไว้ในระบบคอมพิวเตอร์สำหรับบันทึกการทำกิจกรรมต่างๆ ระหว่างทำโครงงาน ได้แก่ การดำเนินการเป็นอย่างไรได้ผลอย่างไร มีปัญหาและแก้ไขได้หรือไม่อย่างไร รวมทั้งข้อสังเกตต่างๆ ที่พบ
  2. การลงมือพัฒนา เป็นการปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้ในเค้าโครง ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมได้ หากพบว่าจะช่วยทำให้ผลงานพัฒนาได้ดีขึ้น โดยจัดระบบการทำงานโดยทำส่วนที่เป็นหลักสำคัญให้เสร็จก่อน จึงค่อยทำส่วนที่เป็นส่วนประกอบหรือส่วนเสริม เพื่อให้โครงงานมีความสมบูรณ์มากขึ้น และถ้ามีการแบ่งงานกันทำให้ตกลงรายละเอียดในการเชื่อมต่อชิ้นงานที่ชัดเจนด้วย รวมทั้งต้องพัฒนาระบบงานด้วยความละเอียดรอบคอบ บันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบและครบถ้วน
  3. การทดสอบผลงานและแก้ไข เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของผลงาน เพื่อให้แน่ใจว่าผลงานที่พัฒนาขึ้น ทำงานได้ถูกต้องตรงกับความต้องการที่ระบุไว้ในเป้าหมาย และมีประสิทธิภาพ
  4. การอภิปรายและข้อเสนอแนะ เมื่อพัฒนาผลงานเรียบร้อยแล้ว ให้จัดทำสรุปด้วยข้อความที่สั้นกะทัดรัดครอบคลุมหัวข้อโครงงาน เพื่อช่วยให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงสิ่งที่ค้นพบจากการทำโครงงานและทำการอภิปรายผล เพื่อพิจารณาข้อมูลและผลที่ได้ พร้อมกับนำไปหาความสัมพันธ์กับหลักการ ทฤษฏี หรือผลงานที่ผู้อื่นได้ศึกษาไว้แล้ว ทั้งนี้ยังรวมถึงการนำหลักการ ทฤษฏี หรือผลงานของผู้อื่นมาใช้ประกอบการอภิปรายผลที่ได้
  5. แนวทางการพัฒนาโครงงานในอนาคตและข้อเสนอแนะ เมื่อทำโครงงานเสร็จสิ้นลงแล้วนักเรียนอาจพบข้อสังเกต ประเด็นที่สำคัญหรือปัญหา ซึ่งสามารถเขียนเป็นข้อเสนอแนะ สำหรับผู้สนใจจะนำไปพัฒนาผลงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

3.5 การเขียนรายงานโครงงาน

            การเขียนรายงาน เป็นวิธีการสื่อความหมายเพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าใจแนวคิด วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับโครงงานนั้น  โดยในการเขียนรายงานนั้น โดยในการเขียนรายงานนั้น ควรใช้ภาษาที่อ่านง่าย ชัดเจน กระชับ ตรงไปตรงมา รวมทั้งจัดทำคู่มือการใช้งานซึ่งประกอบด้วยรายละเอียด ดังนี้

  1. ชื่อโครงงาน
  2. ความต้องการของระบบคอมพิวเตอร์ ระบุรายละเอียดของคอมพิวเตอร์ที่ต้องมีเพื่อที่จะใช้กับโครงงานนั้น
  3. ความต้องการของซอฟต์แวร์ ระบุรายชื่อซอฟต์แวร์ที่ต้องใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อจะให้โครงงานนั้นทำงานได้อย่างสมบูรณ์
  4. คุณลักษณะของโครงงาน ซึ่งอธิบายว่าผลงานนั้นทำหน้าที่อะไรบ้าง รับอะไรเป็น ข้อมูลขาเข้า และอะไรที่ออกมาเป็นข้อมูลขาออก
  5. วิธีการใช้งานของแต่ละฟังก์ชัน อธิบายว่าจะต้องกดคำสั่งใด หรือกดปุ่มใด เพื่อให้ผลงานทำงานในฟังก์ชันหนึ่งๆ

3.6 การนำเสนอและแสดงโครงงาน

การนำเสนอและแสดงโครงงาน เป็นขั้นตอนสุดท้ายหลังจากการพัฒนาโครงงานเสร็จเรียบร้อยตามเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ โดยเป็นการนำเสนอรายงานสรุปผลการดำเนินการในการจัดทำโครงงาน และโปรแกรมที่ได้พัฒนาขึ้นมาให้กับคณะกรรมการและผู้เกี่ยวข้องของโครงงานนั้นๆ ซึ่งจัดเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งของการทำโครงงาน เพื่อแสดงออกถึงผลิตผลทางความคิด ความพยายามในการทำงานที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเท และเป็นวิธีทำให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจถึงผลงานนั้น

ความสามารถที่เกิดจากการทำโครงงานคอมพิวเตอร์

โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความสามารถในด้านต่างๆ ที่สำคัญ 5 ประการ ดังนี้

1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถที่เกิดจากการที่นักเรียนผู้ทำโครงงานต้องนำเสนอผลงานให้ครูและเพื่อนนักเรียนให้เข้าใจโครงงานคอมพิวเตอร์ได้อย่างชัดเจน ดังนั้น ผู้ทำโครงงานต้องสื่อสารความคิดในการสร้างสรรค์โครงงานด้วยการเขียน หรือด้วยปากเปล่า รวมทั้งเลือกใช้รูปแบบของสื่ออย่างมีประสิทธิภาพเพื่อนำเสนอแนวคิดในการจัดทำโครงงานให้ผู้อื่นได้เข้าใจ

2. ความสามารถในการคิด  ซึ่งผู้เรียนจะมีการคิดในลักษณะต่างๆ ดังนี้

1. การคิดวิเคราะห์ เกิดจากที่ผู้เรียนต้องวิเคราะห์ปัญหาและแยกแยะสาเหตุว่าเกิดเนื่องจากอะไร

2. การคิดสังเคราะห์ เกิดจากที่ผู้เรียนต้องนำความรู้ต่างๆ ที่เรียนมา รวมทั้งความรู้จากกาค้นหาข้อมูล เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาหรือการสร้างสรรค์โครงงาน

3. การคิดอย่างสร้างสรค์ เกิดจากที่ผู้เรียนนำความรู้มาสร้างสรรคผลงานใหม่

4. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ เกิดจากการที่ผู้เรียนได้มีการคิดไตร่ตรองว่าควรทำโครงงานใดและไม่ควรทำโครงงานใด เนื่องจากโครงงานที่สร้างขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม เช่น โครงงานระบบคำนวณเลขหวย สำหรับหาเลขที่คาดว่าสลากกินแบ่งรัฐบาลจะออกในแต่ละงวด อาจส่งผลกระทบต่อสังคม ทำให้คนในสังคมเกิดความหมกมุ่นกับการใช้เงินเล่นหวยมากขึ้น

5. การคิดอย่างเป็นระบบ เกิดจากที่ผู้เรียนคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน โดยใช้ขั้นตอนในการพัฒนาโครงงาน คือ ผู้เรียนเป็นผู้วางแผนในการศึกษา ค้นคว้า

ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์

Image

โคงงานคอมพิวเตอร์มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักวิธีการออกแบบ เริ่มตั้งแต่กำหนดคุณสมบัติของสิ่งที่ต้องการออกแบบ การรู้จักเลือกใช้เทคโนโลยีต่างๆ และมีความคิดสร้างสรรค์  โครงงานคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งได้ 5 ประเภท ดังนี้

1. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา สามารถช่วยในการพัฒนาการเรียนรู้ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ โดยผ่านสื่อการเรียนรู้ต่างๆ

Image

2. โครงงานพัฒนาเครื่องมือ เป็นโครงงานที่สร้างขึ้นเพื่อพัฒนาการสร้างฮาร์ดแวร์ และการพัฒนาซอฟต์แวร์ ซึ่งจะสามารถช่วยงานในด้านต่างๆ ได้

Image

3. โครงงานทดลองทฤษฏี เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการจำลองสถานณการณ์ที่ไม่สามารถทดลองได้จริง เนื่องจากอาจก่อให้เกิดอันตรายได้

Image

4. โครงงานประยุกต์ใช้งาน เป็นการนำอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มาศึกษาระบบการทำงาน และนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้งนชีวิตประจำวัน

Image5.โครงงานพัฒนาโปรแกรมประยุกต์(พัฒนาเกมส์) เพื่อศึกษาความต้องการของผู้ใช้งาน และออกแบบโปรแกรมที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน

Image

ความสำคัญของการทำโครงงานคอมพิวเตอร์

โครงงานคอมพิวเตอร์  คือผลงานที่ได้จากการศึกษาค้นค้วาตามความสนใจ ความถนัดและความสามารถของผู้เรียน โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โครงงานจึงเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยผู้เรียนจะหาหัวข้อโครงงานที่ตนเองสนใจ รวมทั้งเชื่อมโยงความรู้ต่างๆและความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี สารสนเทศ เพื่อสร้างผลงานตามความต้องการได้อย่างเหมาะสม โดยมีครูเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำ

0212